Skip to main content

ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา | Knowledge of child protection in the criminal justice system

NITIVAJRA

คำอธิบายรายวิชา

วิชานี้มุ่งให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการสากลในการคุ้มครองเด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ทั้งกรณีเด็กเป็นผู้เสียหาย พยาน หรือผู้ต้องหา ตลอดจนหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กผู้เสียหายที่ถูกกระทำความรุนแรง การคุ้มครองเด็กผู้เสียหายหรือพยานที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เช่น วิธีการถามปากคำเด็ก สถานที่ในการถามปากคำเด็ก การสืบพยานเด็กในชั้นศาล และความสอดคล้องของกฎหมายไทยกับหลักการคุ้มครองเด็กตามมาตรฐานระหว่างประเทศดังกล่าว รวมถึงขั้นตอนในการดำเนินคดีเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดตั้งแต่ชั้นก่อนฟ้องคดี เช่น การสอบปากคำ การตรวจสอบการจับ การพิจารณาเรื่องเขตอำนาจศาล ระยะเวลาในการดำเนินคดีตามกฎหมาย การสั่งสำนวนคดีและการยื่นคำฟ้อง จนถึงการดำเนินคดีในชั้นศาล จนกระทั่งศาลมีคำพิพากษา และการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ ฎีกา

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้

จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 4 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1. ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการสากล และหลักกฎหมายของไทยเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ทั้งกรณีเด็กเป็นผู้เสียหาย พยาน หรือผู้ต้องหา

2. ผู้เรียนมีความรู้และสามารถอธิบายขั้นตอนการดำเนินคดีที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำความผิดในชั้นก่อนฟ้อง เช่น การสอบปากคำ การตรวจสอบการจับ การพิจารณาเรื่องเขตอำนาจศาล ระยะเวลาในการดำเนินคดีตามกฎหมาย การสั่งสำนวนคดีและการยื่นคำฟ้องได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3. ผู้เรียนมีความรู้และสามารถอธิบายขั้นตอนการดำเนินคดีที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำความผิดในชั้นศาล และชั้นอุทธรณ์ ฎีกา ได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

4. ผู้เรียนสามารถระบุปัญหาทั่วไปที่พบในการปฏิบัติงานและสามารถอธิบายวิธีการแก้ปัญหา ในการทำงานทั่วไปที่พบในการดำเนินคดีเด็กและเยาวชนในชั้นก่อนฟ้อง การสั่งคดี ตลอดจนการดำเนินคดี ในชั้นศาลได้

5. ผู้เรียนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในหน่วยงานของตนได้

คุณสมบัติผู้เรียน

บุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด บุคลากรในหน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรมอื่นที่ต้องเกี่ยวข้องกับการทำงานของพนักงานอัยการ เช่น พนักงานสอบสวน เจ้าพนักงานคดี นิติกร เป็นต้น และประชาชนทั่วไป

เกณฑ์การวัดผล

เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดยไม่เก็บคะแนน
เข้าทำแบบทดสอบระหว่างเรียนท้ายบทเรียนแต่ละบท เก็บคะแนน 60%
เข้าทำแบบทดสอบประมวลความรู้ Final Exam เก็บคะแนน 40%
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้

ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา MOOC

Course Staff Image #1

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก

นางธีราพร สุริสีหเสถียร
ตำแหน่ง : อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
และการบังคับคดีจังหวัดอ่างทอง

Course Staff Image #2

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม

นางสันทนี ดิษยบุตร
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการสถาบันนิติวัชร์

ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน

E-Mail : [email protected]
เบอร์โทร 021421433, 021423129

cc

Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์

“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Enroll