อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลชัย กุลตวนิช
อาจารย์ประจำสาขานิเทศศาสตร์เกษตร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รายวิชาเทคนิคการเป็น Influencer อย่างมืออาชีพ มีเนื้อหาที่ครอบคลุมด้านต่างๆ ของการเป็น Influencer เช่น การสร้างตัวตนเป็น Influencer โดยใครๆ ก็สามารถเป็นได้ การสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจโดยการนำความรู้ ความชื่นชอบ ความเชี่ยวชาญ เอกลักษณ์พิเศษมาใช้ในการสร้างคอนเทนต์ให้ตรงความต้องการและความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สร้างคอนเทนต์และเทคนิคพิเศษเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ การสร้างช่องของตนเองบนแพลตฟอร์มออนไลน์ให้มีผู้ติดตามมากมาย ซึ่งทั้งหมดนี้นำไปสู่การเป็น Influencer ที่สามารถสร้างรายได้จากใช้แพลตฟอร์มสังคมออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยตนเอง
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 7 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 4 ชั่วโมง 33 นาที)
1. อธิบายความหมายและความสำคัญของการเป็น Influencer อย่างมืออาชีพได้
2. อธิบายการใช้เครื่องมือสำหรับสร้างคอนเทนต์ของ Influencer อย่างมืออาชีพได้
3. อธิบายการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับการถ่ายทอดสดบนแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์สำหรับ Influencer อย่างมืออาชีพได้
4. อธิบายกระบวนการสร้างคอนเทนต์ของ Influencer อย่างมืออาชีพได้
5. อธิบายการสร้างตัวตน Influencer บนแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์ต่างๆ ให้มีผู้ติดตามมากมายอย่างมืออาชีพได้
นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้
เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน โดยไม่เก็บคะแนน
เข้าทำกิจกรรมประเมินตนเอง (Self Checklist) โดยไม่เก็บคะแนน
เข้าทำแบบทดสอบระหว่างเรียนทุกบท (Unit test) เก็บคะแนน 60%
เข้าทำแบบทดสอบประมวลความรู้ (Final Exam) เก็บคะแนน 40%
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลชัย กุลตวนิช
อาจารย์ประจำสาขานิเทศศาสตร์เกษตร
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อาจารย์ ดร.ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์
อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
e-Mail [email protected]
อาจารย์ ดร.อภิสิทธิ์ เถายะบุตร
อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
e-Mail [email protected]
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”